เกณฑ์การมอบรางวัล[3] ของ ดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ประเทศไทย

คะแนนมาตรฐาน จะถูกคำนวณจากคะแนนรวมเฉลี่ยของผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงที่สุดจำนวน 3 คนแรกโดยไม่นับนักเรียนจากส่วนกลางที่เข้าร่วมแข่งขัน (นักเรียนจากส่วนกลางที่เข้าร่วมแข่งขันได้แก่ นักเรียนที่เป็นผู้แทนประเทศไทยหรือสำรองผู้แทนประเทศไทยในการแข่งขันครั้งก่อนหน้า และยังสามารถเข้าร่วมแข่งขันในระดับเดียวกับครั้งก่อนหน้าได้อีกในการแข่งขันครั้งถัดไป ซึ่งตามธรรมนูญแล้วจะสามารถเข้าร่วมแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติครั้งถัดไปได้ทันทีโดยไม่ต้องสอบคัดเลือกผ่านค่าย สอวน.)

  • ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนรวมตั้งแต่ 90% ของคะแนนมาตรฐานขึ้นไปจะได้รับรางวัลเหรียญทอง พร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนรวมตั้งแต่ 78% ขึ้นไป แต่น้อยกว่า 90% ของคะแนนมาตรฐานจะได้รับรางวัลเหรียญเงิน พร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนรวมตั้งแต่ 65% ขึ้นไป แต่น้อยกว่า 78% ของคะแนนมาตรฐานจะได้รับรางวัลเหรียญทองแดง พร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนรวมตั้งแต่ 50% ขึ้นไป แต่น้อยกว่า 65% ของคะแนนมาตรฐานจะได้รับรางวัลเกียรติคุณประกาศ พร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนรวมน้อยกว่า 50% ของคะแนนมาตรฐานจะได้เกียรติบัตรเข้าร่วมการแข่งขัน

ทั้งนี้ คะแนนเกณฑ์ของแต่ละรางวัลจะถูกปัดลงเป็นจำนวนเต็ม ตัวอย่างเช่น หากคะแนน 90% ของคะแนนมาตรฐานเป็น 73.59 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนรวมมากกว่า 73.00 คะแนน ก็จะได้รับรางวัลเหรียญทอง ถึงแม้คะแนนรวมจะน้อยกว่า 73.59 คะแนนก็ตาม

รางวัลพิเศษในการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติมีทั้งหมด 5 รางวัล ประกอบด้วย

  • รางวัลคะแนนรวมสูงสุด มอบให้กับผู้เข้าแข่งขันที่ทำคะแนนรวมได้สูงที่สุดในการแข่งขัน ได้รับเงินรางวัล 6,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลคะแนนรวมสูงสุดภาคทฤษฎี มอบให้กับผู้เข้าแข่งขันที่ทำคะแนนในการสอบภาคทฤษฎีได้สูงที่สุดในการแข่งขัน ได้รับเงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลคะแนนรวมสูงสุดภาคปฏิบัติการ มอบให้กับผู้เข้าแข่งขันที่ทำคะแนนรวมในการสอบภาควิเคราะห์ข้อมูลและภาคสังเกตการณ์รวมกันได้สูงที่สุดในการแข่งขัน ได้รับเงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลนักดาราศาสตร์หญิง มอบให้กับผู้เข้าแข่งขันหญิงที่ทำคะแนนรวมได้สูงที่สุดในการแข่งขัน ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลคะแนนรวมสูงสุด ศูนย์ภูมิภาค มอบให้กับผู้เข้าแข่งขันจากศูนย์ สอวน. จากส่วนภูมิภาค (ไม่นับศูนย์ สอวน. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์) ที่ทำคะแนนรวมได้สูงที่สุดในการแข่งขัน ได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

ทางคณะกรรมการการแข่งขันมีสิทธิ์เพิ่มหรือลดรางวัลพิเศษได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ นักเรียนจากส่วนกลางที่เข้าร่วมการแข่งขันจะไม่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลพิเศษใดๆ ถึงแม้จะเป็นผู้ทำคะแนนสูงสุดใน 5 รางวัลดังกล่าวก็ตาม

ผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุด 3 อันดับแรกของการแข่งขันในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุด 5 อันดับแรกของการแข่งขันในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะได้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศและดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศในปีนั้นๆตามลำดับ โดยนับรวมนักเรียนจากส่วนกลางด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ประเทศไทย http://150.95.80.172/wp-content/uploads/2018/12/%E... http://thaiastro.nectec.or.th/olympiad/2546/junior... http://thaiastro.nectec.or.th/olympiad/2547/tao/pr... http://thaiastro.nectec.or.th/olympiad/2547/tao/pr... https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.601061... https://www.facebook.com/TAONU14/posts/19071947295... https://www.facebook.com/ThailandAstronomyOlympiad... https://www.facebook.com/ThailandAstronomyOlympiad... https://www.facebook.com/pg/TAO2014/photos/?tab=al... https://mgronline.com/qol/detail/9540000055986